มลพิษอยู่ใกล้แค่ปลายจมูก อันตรายแค่ไหน ต้องรู้เพื่อรับมือ

บ่อยครั้งที่เรามักจะลืมให้ความสำคัญกับสิ่งใกล้ตัว แม้แต่อากาศที่เราหายใจอยู่ทุกนาทีเพื่อให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย

รู้หรือไม่? ระหว่างวันเราหายใจมากถึง 12 – 20 ครั้งต่อนาที แต่ละชั่วโมงจะรับอากาศเข้าไปในปอดสูงถึง 600 ลิตร และเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในขณะที่ออกกำลังกาย

แล้วรู้หรือไม่? ในอากาศไม่ได้มีแค่ออกซิเจน แต่ยังมีก๊าซอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ มีอนุภาคสสารต่าง ๆ ที่เป็นมลพิษ และตามองไม่เห็นทั้งฝุ่นละออง PM2.5 แบคทีเรีย เชื้อโรค ไปจนถึงสาร VOCs และฟอร์มาลดีไฮด์ที่ระเหยมาจากสี สารเคลือบวัสดุในบ้าน ที่คายตัวออกมานานนับสิบปี

จมูกของเรามีกลไกการกรองอากาศย่อม ๆ อยู่ในตัว เป็นด่านแรกในการป้องกันอันตรายให้กับระบบหายใจ โดยมีขนในจมูกและเยื่อเมือกบริเวณจมูกส่วนหน้าคอยดักจับสิ่งสกปรกหรือกรองฝุ่นที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 4 ไมครอน ส่วนฝุ่นละเอียดอย่าง PM2.5 รวมถึงฝุ่นที่เล็กกว่า 4 ไมครอน จะถูกขนในโพรงจมูกพัดให้เข้าไปในกระทบผนังโพรงจมูก ละลายในเยื่อเมือก แล้วเคลื่อนตัวไปยังลำคอด้านหลัง ขับออกมาเป็นเสมหะหรือถูกกลืนลงไปในหลอดอาหาร

ร่างกายมนุษย์มีข้อจำกัด เมื่อเราสูดรับฝุ่นเล็ก ๆ เข้าไปมาก ๆ โดยเฉพาะ PM2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาในประเทศไทย กลไกเหล่านี้อาจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและไม่สามารถกรองได้ทั้งหมด ในขั้นต้นอาจเกิดอาการอักเสบที่เยื่อบุจมูก โดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้จะไวต่อการกระตุ้นเป็นพิเศษและได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว และถ้าฝุ่นละเอียดมีปริมาณมาก ๆ อาจจะผ่านโพรงจมูกเข้าไปถึงถุงลมในปอดทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคือง ฝุ่นสามารถเข้าไปทำให้ตัวรับเซลล์ในปอดประสิทธิภาพลดลงส่งผลให้ปอดอ่อนแอและติดเชื้อได้ง่าย ฝุ่นเล็กละเอียดสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปรบกวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดผลกระทบอีกมากมายในระยะยาว

ดังนั้นผลกระทบจากฝุ่นจึงไม่ใช่แค่การเจ็บคอหรือจมูกตันในวันนี้ แต่เป็นปัญหาสุขภาพระยะยาวที่เราไม่รู้ตัว

โรคมะเร็งปอดและการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เป็น 2 ใน 10 สาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในประเทศไทย

ส่วนฝุ่นละเอียดอย่าง PM2.5 รวมถึงฝุ่นที่เล็กกว่า 4 ไมครอน จะถูกขนในโพรงจมูกพัดให้เข้าไปในกระทบผนังโพรงจมูก

ทางป้องกันง่าย ๆ คือใช้ชีวิตนอกบ้านให้น้อยลง หาเครื่องฟอกอากาศดี ๆ ประสิทธิภาพสูงไว้ในบ้านสักเครื่อง แต่ถ้าเรายังจำเป็นต้องออกไปข้างนอกล่ะ นอกจากการใส่หน้ากากกันฝุ่นแล้ว ทุกวันนี้ยังมีตัวช่วยมาเสริมการลดฝุ่นที่ต้องหายใจเข้าไปให้น้อยลงได้อีก อย่างเทคโนโลยี Negative Ion (ไอออนประจุลบ) ซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลายในเครื่องฟอกอากาศมาก่อน แต่ปรับให้ใช้งานง่าย พกพาไปได้ทุกที่ เรียกว่า เครื่องฟอกอากาศแบบพกพาชนิดไอออน โดยไอออนลบจะเข้าจับกับอนุภาคเล็ก ๆ ที่เรามองไม่เห็นและลอยอยู่ในอากาศให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หนักขึ้นและตกลงออกจากระยะหายใจของเรา

ซึ่งปริมาณของไอออนและการออกแบบให้เหมาะกับระยะหายใจก็มีผลกับการทำงาน ทั้งตำแหน่งของช่องปล่อยที่ช่วยให้ไอออนไปถึงใบหน้าได้และปริมาณกับรอบการปล่อยที่มีความถี่เพียงพอกับจำนวนครั้งที่หายใจ

แน่นอนว่าคงไม่มีทางออกที่จะป้องกันฝุ่นได้ 100% แต่การมีตัวช่วยที่จะช่วยให้เรารับมือกับปัญหาฝุ่นและมลพิษที่ดูจะยังไม่มีมาตรการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน ก็ยังพอช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจขึ้นในแต่ละวัน

ible airvida เครื่องฟอกอากาศแบบพกพาที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ออกแบบมาให้ใช้กับใบหน้าโดยเฉพาะ ด้วยเทคโนโลยีไอออน

ible airvida เครื่องฟอกอากาศแบบพกพาที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ออกแบบมาให้ใช้กับใบหน้าโดยเฉพาะ ด้วยเทคโนโลยีไอออน ปล่อยไอออนลบมากถึง 2 ล้านประจุ ทุก 0.6 วินาที ช่วยดักจับฝุ่นละออง PM2.5 สารก่อภูมิแพ้ แบคทีเรีย เชื้อโรค รวมถึงสารระเหยต่าง ๆ ให้ตกสู่พื้นก่อนการหายใจ

รู้จักกับ ible เพิ่มเติม: http://bit.ly/3pVcaLl